วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บทที่3 การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)


การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

ทฤษฎีการเรียนรู้          เบนจามิน บลูมและคณะ (Bloom et al, 1956)  ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน  คือ
               1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
               2. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
               3. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain)
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา และได้แบ่งออกเป็น  6 ระดับ





 1.ข้อสอบวัดในระดับความรู้ความจำ
        ถามเพื่อวัดให้ระลึกถึงสิ่งต่างๆ การจำประสบการณ์จากการสอนจากการบอกเล่า จากตำรา
1.1. ถามเนื้อเรื่อง ได้แก่ คำศัพท์ ชื่อ สูตร กฎและความจริง
1.2. ถามวิธีดำเนินการ ได้แก่ ระเบียบแบบแผน ลำดับขั้นตอน และ
แนวโน้มตามข้อมูลวิธีการปฏิบัติการจัด
1.3. ถามความรู้รวบยอด ได้แก่ หลักการและโครงสร้างทางทฤษฎี รวมทั้ง
ความคิดรวบยอดที่มีผู้สรุปให้แล้ว
ตัวอย่างเช่น
        ข้อใดคืออุปกรณ์ Input
                ก.หน้าจอ                              ข.ลำโพง
                ค.เครื่องปริ้น                         ง.เมาส์


2.ข้อสอบวัดในระดับความเข้าใจ
        คำถามจะไม่ถามตรงจากตำราหรือสิ่งที่ที่สอนไว้แต่โยงความรู้ที่เรียนมาสัมพันธ์กับคำถามแล้วเปลี่ยนเป็นคำตอบใหม่ ความสามาระระดับนี้แบ่งเป็น 3 ด้านได้แก่
2.1. การแปลความ ได้แก่
1.1 การแปลคำ
1.2 การแปลข้อความ
1.3 การแปลภาพ
1.4 การถามตัวอย่าง
1.5 การเปรียบเปรยหรือเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย
 
2.2. การตีความ เป็นการตีความหมายของเรื่อง การตีความหมายของข้อเท็จจริง
2.3. การขยายความ เป็นการแปลเรื่องไกลจากข้อมูลอย่างสมเหตุสมผลซึ่งต้องอาศัยความสามารถในการแปลความและการตีความ
ตัวอย่างเช่น
        หน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) ข้อความข้างต้นหมายถึงข้อใดต่อไปนี้
                ก.หน่วยความจำ (Memory)          ข.ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output)
                ค.โปรเซสเซอร์ (Processor)         ง.สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Storage)  


3.ข้อสอบวัดในระดับการนำไปใช้
          วัดความสามารถในการนำเอาความรู้ ความเข้าใจ มาประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหา ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใหม่
ตัวอย่างเช่น
        Ram มีหน้าที่การทำงานคล้ายกับอุปกรณ์อะไรต่อไปนี้
                ก.พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)      ข.เมนบอร์ด (Main board)
                ค.ซีพียู (CPU)                                        ง.Rom


4.ข้อสอบวัดในระดับวิเคราะห์
          วัดความสามารถในการแยกแยะหรือแจกแจงรายละเอียดของเรื่องราว ความคิด การปฏิบัติ ออกเป็นส่วนย่อยๆ โดยอาศัยหลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง คำถามในระดับการวิเคราะห์แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
4.1. การวิเคราะห์ความสำคัญ เป็นความสามารถในการหาส่วนประกอบสำคัญของเรื่อง
4.2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นความสามารถในการค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะอย่างน้อย 2 ลักษณะขึ้นไป
4.3. การวิเคราะห์หลักการ เป็นการค้นหาโครงสร้าง หลักการของเรื่อง/วัตถุประสงค์ และการกระทำ เพื่อศึกษาว่าสิ่งเหล่านั้นสัมพันธ์กันโดยใช้หลักการใดเป็นสิ่งเชื่อมโยง
ตัวอย่างเช่น
        อุปกรณ์ใดต่อไปมีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
                ก.เมาส์,คีย์บอรด์             ข.Ram,CPU
                ค.คีย์บอรด์,เมนบอรด์     ง.เมาส์,Ram


5.ข้อสอบวัดในระดับสังเคราะห์
          วัดความสามารถในการรวบรวมและผสมผสานรายละเอียดปลีกย่อยของข้อมูล มาสาร้างเป็นสิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม คำถามระดับนี้แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
5.1. การสังเคราะห์ข้อความ เป็นความสามารถในการแสดงออกเพื่อการสื่อสารโดยนำความรู้และประสบการณ์มาประสมประสานเพื่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดง
5.2. การสังเคราะห์แผนงาน เป็นความสามารถในการกำหนดแนวทางและขั้นตอนของการปฏิบัติงาน สร้างแผนงาน เค้าโครงของงานหรือโครงการ เพื่อให้งานนั้นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3. การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นการวัดความสามารถในการค้นหาความสำคัญและหลักการต่างๆ มาผสมผสาน สร้างให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีความสัมพันธ์แบบสมเหตุสมผล
ตัวอย่างเช่น
        นักเรียนคิดว่าคอมพิวเตอร์ของใครที่จะมีการทำงานได้เร็วที่สุด
        ก.นายแดง มีคอมพิวเตอร์ Ram 4 GB      ข.นายขาว มีคอมพิวเตอร์ Ram 8 GB
        ค.นายดำ มีคอมพิวเตอร์ Ram 6 GB       ง.นายเขียว มีคอมพิวเตอร์ Ram 2 GB


6.ข้อสอบวัดในระดับประเมินค่า
          วัดความสามารถในการสรุปคุณค่าหรือตีราคาเกี่ยวกับเรื่องราว ความคิด พฤติกรรม ว่า ดี - เลว , เหมาะ - ไม่เหมาะ โดยแบ่งเกณฑ์เป็น 2 ลักษณะคือ
6.1. การประเมินโดยใช้เกณฑ์ภายใน เป็นการประเมินโดยใช้ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ปรากฎในเรื่อง เป็นหลักในการพิจารณา อย่างสมเหตุสมผล
6.2. การประเมินโดยให้เกณฑ์ภายนอก เป็นการตีคุณค่า ราคา ของสิ่งต่างๆ โดยใช้เกณฑ์อื่นๆ ที่อยู่นอกเรื่องที่กำหนด แต่มีความสัมพันธ์กับเรื่องมาเป็นหลักในการวินิจฉัย
ตัวอย่างเช่น
        พฤติกรรมใดที่เหมาะสม ในการใช้คอมพิวเตอร์ มากที่สุด
ก. สมชายนำแก้วน้ำมาวางใกล้กับคอมพิวเตอร์            
ข. เทพกินขนมพร้อมกับเล่นคอมพิวเตอร์
ค. ไทใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลในการทำรายงาน    
ง. ธงชัยปิดคอมโดยการไม่
Shut down ก่อนถอดปักไฟฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น