วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

INSIDE OUT มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

 

 ตัวละครที่แสดงแป็นอารมณ์ต่างๆ






Inside Out คือหนังที่ว่าด้วยระบบของสมอง 

(คือแค่เอาหลักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบสั่งการและความทรงจำของสมอง มาทำเป็นอนิเมชั่นที่สนุกและดูง่ายนี่ก็สุดเจ๋งแล้ว) อันประกอบไปด้วยตัวละครที่เป็นระบบสั่งการหลักที่ประกอบไปด้วยอารมณ์ 5 อย่างคือ ความสุข(Joy),โกรธ(Anger),กลัว(Fear),รังเกียจ(Disgust) และเศร้าซึม(Sadness) โดยมีเด็กน้อยไรลีย์เป็นตัวละครหลักที่ทั้ง 5 อารมณ์นี้เข้าไปอยู่มนุษย์หนึ่งคนเติบโตมาด้วย 5 ความรู้สึกนี้ ความรู้สึกก่อเกิดพฤติดรรม พฤติกรรมก่อเกิดเป็นความทรงจำย่อยและความทรงจำหลัก ความทรงจำหลักก่อเกิดบุคลิกภาพ ซึ่งหากไม่มีอะไรมากระทบมันก็จะคงอยู่และเติบโตเช่นนั้นเรื่อยไป ครอบครัวของไรลีย์ต้องย้ายบ้านไปอีกเมืองหนึ่ง ซึ่งต้องปรับตัวอย่างมากจนทำให้ 5 อารมณ์ในหัวไรลีย์ต้องทำงานกันอย่างชุลมุนเพื่อรักษาไรลีย์คนเดิมไว้จน Joy กับ Sadness หลุดไปจากห้องควบคุมหลักและต้องช่วยกันหาทางกลับมาให้ได้ แต่เรื่องไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะตลาดเวลาที่ผ่านมา Joy แทบไม่เคยเห็นค่าของ Sadness ก็นั่นนะสิ, มนุษย์จะอยู่กับความเศร้าไปทำไมกัน? ซึ่งระหว่างที่ทั้งคู่หาทางกลับหนังก็เล่าเรื่องแบบคู่ขนานได้อย่างดีเยี่ยม ในระหว่างที่ Joy และ Sadness
ไม่อยู่ Anger เป็นคนควบคุม ทำให้ไรลีย์แสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
เกิดความทรงจำใหม่ และบุคลิกภาพแบบเดิมที่สั่งสมไว้ตอนเด็กก็พังทลายลงไปทีละอันๆ
พฤติกรรมของไรลีย์ ที่แสดงต่อบุคคลภายนอกก็เปลี่ยนไป ซึ่ง PIXAR ใช้พลังของอนิเมชั่นเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างภายนอกและภายในได้เยี่ยมเอามากๆ แล้วหนังก็เลือกปล่อยข้อความหลักมาในตอนท้าย ในช่วงเวลาที่บุคลิกภาพของไรลีย์พังทลายลงจนแทบจะไร้ความรู้สึก“Sadness” กลับเป็นอารมณ์เพียงหนึ่งเดียวที่เข้ามาประคับประคองไรลีย์ให้กลับมาเป็นผู้เป็นคนอีกครั้ง ทั้งที่ในตอนแรก “Sadness” คือตัวละครที่อีก 4 ตัว โดยเฉพาะ Joy ค่อนข้างรำคาญในการมองโลกแง่ลบ
แต่นั่นแหละ..
ไม่มีใครสุขไปได้ตลอด
ไม่มีชีวิตไหนเติบโตได้โดยปราศจากความเศร้า
ความเศร้าคือส่วนหนึ่งของการเติบโต
ความเศร้าคือส่วนหนึ่งของความทรงจำ
ชีวิตที่เติบโตอย่างมั่นคงแข็งแรง ล้วนแล้วแต่ถูกความเศร้ากล่อมเกลามา
ความเศร้าคือสิ่งที่ประคับประคองให้เราเป็นผู้เป็นคนหลังจากที่พังทลายลงไป
เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่ความเศร้าเข้ามา
โปรดจงจำเอาไว้ว่า
เมื่อนั้น....เรากำลังเติบโต

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

1.ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
       สรุป ได้ว่าบรูเนอร์ กล่าวว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ หรือการรู้คิด โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting, Imagine และ Symbolizing ซึ่งอยู่ใน ขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ Enactive, Iconic และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต มิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น บรูนเนอร์ ได้เห็นด้วยกับ พีอาเจต์ว่า คนเรามีโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure) มาตั้งแต่เกิด ในวัยทารกโครงสร้างสติปัญญายังไม่ซับซ้อน เพราะยังไม่พัฒนาต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างสติปัญญามีการขยายและซับซ้อนขึ้น หน้าที่ของโรงเรียนก็คือการช่วยเอื้อการขยายของโครงสร้างสติปัญญาของนักเรียน

2.ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
       สรุป เพียเจต์เชื่อว่าคนเราทุกคนตั้งแต่เกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นผู้พร้อมที่ จะมีกริยากรรมหรือเริ่มกระทำก่อน (Active) นอกจากนี้เพียเจต์ถือว่ามนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ การจัดและรวบรวม(Oganization) และ การปรับตัว (Adaptation)

3.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอองซูเบล
       สรุป การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่าง ๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น