วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บทที่3 การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)


การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

ทฤษฎีการเรียนรู้          เบนจามิน บลูมและคณะ (Bloom et al, 1956)  ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน  คือ
               1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
               2. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
               3. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain)
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา และได้แบ่งออกเป็น  6 ระดับ





 1.ข้อสอบวัดในระดับความรู้ความจำ
        ถามเพื่อวัดให้ระลึกถึงสิ่งต่างๆ การจำประสบการณ์จากการสอนจากการบอกเล่า จากตำรา
1.1. ถามเนื้อเรื่อง ได้แก่ คำศัพท์ ชื่อ สูตร กฎและความจริง
1.2. ถามวิธีดำเนินการ ได้แก่ ระเบียบแบบแผน ลำดับขั้นตอน และ
แนวโน้มตามข้อมูลวิธีการปฏิบัติการจัด
1.3. ถามความรู้รวบยอด ได้แก่ หลักการและโครงสร้างทางทฤษฎี รวมทั้ง
ความคิดรวบยอดที่มีผู้สรุปให้แล้ว
ตัวอย่างเช่น
        ข้อใดคืออุปกรณ์ Input
                ก.หน้าจอ                              ข.ลำโพง
                ค.เครื่องปริ้น                         ง.เมาส์


2.ข้อสอบวัดในระดับความเข้าใจ
        คำถามจะไม่ถามตรงจากตำราหรือสิ่งที่ที่สอนไว้แต่โยงความรู้ที่เรียนมาสัมพันธ์กับคำถามแล้วเปลี่ยนเป็นคำตอบใหม่ ความสามาระระดับนี้แบ่งเป็น 3 ด้านได้แก่
2.1. การแปลความ ได้แก่
1.1 การแปลคำ
1.2 การแปลข้อความ
1.3 การแปลภาพ
1.4 การถามตัวอย่าง
1.5 การเปรียบเปรยหรือเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย
 
2.2. การตีความ เป็นการตีความหมายของเรื่อง การตีความหมายของข้อเท็จจริง
2.3. การขยายความ เป็นการแปลเรื่องไกลจากข้อมูลอย่างสมเหตุสมผลซึ่งต้องอาศัยความสามารถในการแปลความและการตีความ
ตัวอย่างเช่น
        หน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) ข้อความข้างต้นหมายถึงข้อใดต่อไปนี้
                ก.หน่วยความจำ (Memory)          ข.ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output)
                ค.โปรเซสเซอร์ (Processor)         ง.สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Storage)  


3.ข้อสอบวัดในระดับการนำไปใช้
          วัดความสามารถในการนำเอาความรู้ ความเข้าใจ มาประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหา ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใหม่
ตัวอย่างเช่น
        Ram มีหน้าที่การทำงานคล้ายกับอุปกรณ์อะไรต่อไปนี้
                ก.พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)      ข.เมนบอร์ด (Main board)
                ค.ซีพียู (CPU)                                        ง.Rom


4.ข้อสอบวัดในระดับวิเคราะห์
          วัดความสามารถในการแยกแยะหรือแจกแจงรายละเอียดของเรื่องราว ความคิด การปฏิบัติ ออกเป็นส่วนย่อยๆ โดยอาศัยหลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง คำถามในระดับการวิเคราะห์แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
4.1. การวิเคราะห์ความสำคัญ เป็นความสามารถในการหาส่วนประกอบสำคัญของเรื่อง
4.2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นความสามารถในการค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะอย่างน้อย 2 ลักษณะขึ้นไป
4.3. การวิเคราะห์หลักการ เป็นการค้นหาโครงสร้าง หลักการของเรื่อง/วัตถุประสงค์ และการกระทำ เพื่อศึกษาว่าสิ่งเหล่านั้นสัมพันธ์กันโดยใช้หลักการใดเป็นสิ่งเชื่อมโยง
ตัวอย่างเช่น
        อุปกรณ์ใดต่อไปมีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
                ก.เมาส์,คีย์บอรด์             ข.Ram,CPU
                ค.คีย์บอรด์,เมนบอรด์     ง.เมาส์,Ram


5.ข้อสอบวัดในระดับสังเคราะห์
          วัดความสามารถในการรวบรวมและผสมผสานรายละเอียดปลีกย่อยของข้อมูล มาสาร้างเป็นสิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม คำถามระดับนี้แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
5.1. การสังเคราะห์ข้อความ เป็นความสามารถในการแสดงออกเพื่อการสื่อสารโดยนำความรู้และประสบการณ์มาประสมประสานเพื่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดง
5.2. การสังเคราะห์แผนงาน เป็นความสามารถในการกำหนดแนวทางและขั้นตอนของการปฏิบัติงาน สร้างแผนงาน เค้าโครงของงานหรือโครงการ เพื่อให้งานนั้นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3. การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นการวัดความสามารถในการค้นหาความสำคัญและหลักการต่างๆ มาผสมผสาน สร้างให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีความสัมพันธ์แบบสมเหตุสมผล
ตัวอย่างเช่น
        นักเรียนคิดว่าคอมพิวเตอร์ของใครที่จะมีการทำงานได้เร็วที่สุด
        ก.นายแดง มีคอมพิวเตอร์ Ram 4 GB      ข.นายขาว มีคอมพิวเตอร์ Ram 8 GB
        ค.นายดำ มีคอมพิวเตอร์ Ram 6 GB       ง.นายเขียว มีคอมพิวเตอร์ Ram 2 GB


6.ข้อสอบวัดในระดับประเมินค่า
          วัดความสามารถในการสรุปคุณค่าหรือตีราคาเกี่ยวกับเรื่องราว ความคิด พฤติกรรม ว่า ดี - เลว , เหมาะ - ไม่เหมาะ โดยแบ่งเกณฑ์เป็น 2 ลักษณะคือ
6.1. การประเมินโดยใช้เกณฑ์ภายใน เป็นการประเมินโดยใช้ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ปรากฎในเรื่อง เป็นหลักในการพิจารณา อย่างสมเหตุสมผล
6.2. การประเมินโดยให้เกณฑ์ภายนอก เป็นการตีคุณค่า ราคา ของสิ่งต่างๆ โดยใช้เกณฑ์อื่นๆ ที่อยู่นอกเรื่องที่กำหนด แต่มีความสัมพันธ์กับเรื่องมาเป็นหลักในการวินิจฉัย
ตัวอย่างเช่น
        พฤติกรรมใดที่เหมาะสม ในการใช้คอมพิวเตอร์ มากที่สุด
ก. สมชายนำแก้วน้ำมาวางใกล้กับคอมพิวเตอร์            
ข. เทพกินขนมพร้อมกับเล่นคอมพิวเตอร์
ค. ไทใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลในการทำรายงาน    
ง. ธงชัยปิดคอมโดยการไม่
Shut down ก่อนถอดปักไฟฟ้า

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

INSIDE OUT มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

 

 ตัวละครที่แสดงแป็นอารมณ์ต่างๆ






Inside Out คือหนังที่ว่าด้วยระบบของสมอง 

(คือแค่เอาหลักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบสั่งการและความทรงจำของสมอง มาทำเป็นอนิเมชั่นที่สนุกและดูง่ายนี่ก็สุดเจ๋งแล้ว) อันประกอบไปด้วยตัวละครที่เป็นระบบสั่งการหลักที่ประกอบไปด้วยอารมณ์ 5 อย่างคือ ความสุข(Joy),โกรธ(Anger),กลัว(Fear),รังเกียจ(Disgust) และเศร้าซึม(Sadness) โดยมีเด็กน้อยไรลีย์เป็นตัวละครหลักที่ทั้ง 5 อารมณ์นี้เข้าไปอยู่มนุษย์หนึ่งคนเติบโตมาด้วย 5 ความรู้สึกนี้ ความรู้สึกก่อเกิดพฤติดรรม พฤติกรรมก่อเกิดเป็นความทรงจำย่อยและความทรงจำหลัก ความทรงจำหลักก่อเกิดบุคลิกภาพ ซึ่งหากไม่มีอะไรมากระทบมันก็จะคงอยู่และเติบโตเช่นนั้นเรื่อยไป ครอบครัวของไรลีย์ต้องย้ายบ้านไปอีกเมืองหนึ่ง ซึ่งต้องปรับตัวอย่างมากจนทำให้ 5 อารมณ์ในหัวไรลีย์ต้องทำงานกันอย่างชุลมุนเพื่อรักษาไรลีย์คนเดิมไว้จน Joy กับ Sadness หลุดไปจากห้องควบคุมหลักและต้องช่วยกันหาทางกลับมาให้ได้ แต่เรื่องไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะตลาดเวลาที่ผ่านมา Joy แทบไม่เคยเห็นค่าของ Sadness ก็นั่นนะสิ, มนุษย์จะอยู่กับความเศร้าไปทำไมกัน? ซึ่งระหว่างที่ทั้งคู่หาทางกลับหนังก็เล่าเรื่องแบบคู่ขนานได้อย่างดีเยี่ยม ในระหว่างที่ Joy และ Sadness
ไม่อยู่ Anger เป็นคนควบคุม ทำให้ไรลีย์แสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
เกิดความทรงจำใหม่ และบุคลิกภาพแบบเดิมที่สั่งสมไว้ตอนเด็กก็พังทลายลงไปทีละอันๆ
พฤติกรรมของไรลีย์ ที่แสดงต่อบุคคลภายนอกก็เปลี่ยนไป ซึ่ง PIXAR ใช้พลังของอนิเมชั่นเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างภายนอกและภายในได้เยี่ยมเอามากๆ แล้วหนังก็เลือกปล่อยข้อความหลักมาในตอนท้าย ในช่วงเวลาที่บุคลิกภาพของไรลีย์พังทลายลงจนแทบจะไร้ความรู้สึก“Sadness” กลับเป็นอารมณ์เพียงหนึ่งเดียวที่เข้ามาประคับประคองไรลีย์ให้กลับมาเป็นผู้เป็นคนอีกครั้ง ทั้งที่ในตอนแรก “Sadness” คือตัวละครที่อีก 4 ตัว โดยเฉพาะ Joy ค่อนข้างรำคาญในการมองโลกแง่ลบ
แต่นั่นแหละ..
ไม่มีใครสุขไปได้ตลอด
ไม่มีชีวิตไหนเติบโตได้โดยปราศจากความเศร้า
ความเศร้าคือส่วนหนึ่งของการเติบโต
ความเศร้าคือส่วนหนึ่งของความทรงจำ
ชีวิตที่เติบโตอย่างมั่นคงแข็งแรง ล้วนแล้วแต่ถูกความเศร้ากล่อมเกลามา
ความเศร้าคือสิ่งที่ประคับประคองให้เราเป็นผู้เป็นคนหลังจากที่พังทลายลงไป
เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่ความเศร้าเข้ามา
โปรดจงจำเอาไว้ว่า
เมื่อนั้น....เรากำลังเติบโต

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

1.ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
       สรุป ได้ว่าบรูเนอร์ กล่าวว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ หรือการรู้คิด โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting, Imagine และ Symbolizing ซึ่งอยู่ใน ขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ Enactive, Iconic และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต มิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น บรูนเนอร์ ได้เห็นด้วยกับ พีอาเจต์ว่า คนเรามีโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure) มาตั้งแต่เกิด ในวัยทารกโครงสร้างสติปัญญายังไม่ซับซ้อน เพราะยังไม่พัฒนาต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างสติปัญญามีการขยายและซับซ้อนขึ้น หน้าที่ของโรงเรียนก็คือการช่วยเอื้อการขยายของโครงสร้างสติปัญญาของนักเรียน

2.ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
       สรุป เพียเจต์เชื่อว่าคนเราทุกคนตั้งแต่เกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นผู้พร้อมที่ จะมีกริยากรรมหรือเริ่มกระทำก่อน (Active) นอกจากนี้เพียเจต์ถือว่ามนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ การจัดและรวบรวม(Oganization) และ การปรับตัว (Adaptation)

3.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอองซูเบล
       สรุป การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่าง ๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 3ทฤษฏีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม

พาฟลอฟ (Pavlov)
สรุป การเรียนรู้แบบ การวางเงื่อนไข โดยเมื่อสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งน้ำลายจะไหล เพราะ เกิดจากการที่เวลาก่อนให้อาหารจะสั่นกระดิ่งก่อน และเมื่อทำบ่อยๆ จึงเกิดการเรียนรู้

วัตสัน(Watso)
          สรุป เมื่อเด็กเข้าไปจับหนูเด็กจะไม่กลัว และเมื่อเด็กเข้าไปจับอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เมื่อเด็กจับหนูจะมีเสียงดังจึงทำให้เด็กกลัว ถ้าเด็กเข้าไปจับในรอบต่อไปโดยมีแม่เข้าไปด้วยเด็กจะไม่กลัว


ธอร์นไดค์(Thorndike)
          สรุป นำแมวที่หิวเข้าไปไว้ในกง แล้วเอาอาหารออกมาไว้ข้างนอก แมวที่อยู่ในกงจะพยายามหาทางออก โดยการตะกุยกงและเมื่อกะกุยถูกสลักกงจะเปิด และแมวก็จะออกมากินอาหาร  แลเมื่อทำในครั้งต่อไปแมวจะใช้เวลาอยู่ในกงน้อยลง

สกินเนอร์(Skinner)
          สรุป เมื่อนำหนูมาทดลองในกล่อง ที่เตรียมไว้เป็นกล่องกลที่สามารถให้อาหารได้เวลาที่หนูมา กดลงที่คาน แล้วอาหารก็จะไหลลงมาตามราง ละหนูก็จะได้กินอาหาร และหนูก็จะเกิดการเสริมแรง ถ้าหนูกดคานมันจะได้กินอาหาร และถ้าไม่ทำอะไรเลยมันก็จะไม่ได้กินอะไร  ดังนั้นจึงเกิดการเรียนรู้และจดจำ




วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบทที่ 1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

คำถามท้ายบทที่ 1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. MOOCs(Massive  Open  Online  Courses)  ถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด  เพราะอะไร
ตอบ 
 MOOCs  ถือเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอน เพราะ Moocs  ย่อมาจาก   Massive Open Online Course  หมายถึง   การเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แบบเปิดเสรีที่ไม่ว่าใครก็ตามจากซีกไหนในโลกสามารถสมัครเข้าเรียนได้ไม่จำกัดจำนวน โดยเฉพาะการศึกษาระดับสูงที่ในระบบการศึกษาเดิมนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะคนจำนวนน้อยเท่านั้น

2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกเป็นกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร

ตอบ 
นวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกเป็น  5  ประเภท  ดังนี้
    1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร  ข้อดี  เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ นำแต่ละสาขาวิชา มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้อง การสอนบุคคลให้มากขึ้น
    2. นวัตกรรมการเรียนการสอน  ข้อดี  เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล  การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเรียนแบบมีส่วนร่วม  การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา  และการพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน   
    3. นวัตกรรมสื่อการสอน  ข้อดี  เราสามารถนำศักยภาพของเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ ๆ สื่อที่จะส้รางความสนใจ ความสนุกในการเรียนมากขึ้น
    4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล  ข้อดี  เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมี ประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว
    5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ  ข้อดี  เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ  พื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

3. สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ  นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการใน เรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual  Different)  ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมและ เทคโนโลยีทางการศึกษานั้น
ตอบ  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เพราะ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่หน้าเบื่อสำรับเด็กในกรศึกษา พร้อมทั้งยังสามารถเป็นททเรียนเคลื่อนที่ได้อีกด้วย
4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู  จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
 ตอบ   เพื่อให้รู้และเข้าใจในการศึกษาและในการสอน ว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
คืออะไร และไม่จำสับสันกันเอง และไม่ไปสอนเด็กแบบผิดๆ
5. นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่าง แพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด  ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น ๆ มา  1  ประเภท  
ตอบ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
ข้อดี
                1.เพิ่มแรงจูงใจในการเรียน
               
2.เรียนรู้ได้ตลอดเวลา
               
3.มีความอิสระในการศึกษา
ข้อเสีย
                1.ค่าใช้จ่ายสูง
               
2.สื่อยังไม่มีจำนวนเยอะ

                3.สื่ออาจมีปํญหากับผู้ใช้บางคน